รายละเอียด ชาเขียวมัทฉะ


รายละเอียด ชาเขียวมัทฉะ
My Matcha Organic 100% Pure ชาเขียวมัทฉะออร์แกนิคแท้100% 
  - More Antioxidents ต่อต้านอนุมูลอิสระ
  - Metabolism Booster ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่
  - Fat Blocker & Calorie Burner ดักจับไขมัน และเผาผลาญแคลอรี่


🍵ผงมัทฉะ 1 ช้อน ที่ได้มากกว่าคำว่า “ผอม” ⁉️

👉จากที่ทราบกันดีว่า สารEGCG (สารที่อยู่ในมัทฉะ) ช่วยเพิ่มกระบวนการ การเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อไขมัน จึงส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย

💢💢แต่ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารต่างๆ ที่พบในชาเขียว มีผลในการยับยั้งภาวะโรคต่างๆ โดยมีผลงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าการดื่มชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่💢💢

💥#เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน💥

ในมัทฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ คือโพลีฟีนอล คาเทชิน และแอลธีอะนีน ที่มีส่วนร่วมในการเพิ่มการป้องกันภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยในการป้องกันสารแปลกปลอมหรือสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย
นักวิจัยจากศูนย์ทันตกรรมฟอร์ซีธในบอสตัน สหรัฐอเมริกา ยังได้แนะนำว่า การดื่มชาตอนเช้าช่วยในการป้องกันฟันผุได้ โดยถ้าแช่ถุงชาหรือใบชาไว้นาน 3 นาทีก่อนดื่ม ชาจะสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้ฟันผุได้ถึงร้อยละ 95

💥#ควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2💥

ผงชาเขียวมัทฉะอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลและน้ำตาลกลูโคสในตับในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ยับยั้งความเสียหายของไตและตับ โดยการลดการสะสมของน้ำตาลในเลือดที่ทำปฏิกิริยาต่อโปรตีนมีผลทำให้โปรตีนผิดรูป

💥#ดูแลหัวใจและหลอดเลือด💥

สารสกัดจากชาเขียวมัทฉะจะช่วยบำรุงรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญนี้มีศักยภาพเพื่อช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลต่ำ ลดการสะสมของไขมัน กระตุ้นออโตฟาจี้ (กลไกธรรมชาติในการกำจัดเซลล์ที่เสียหายในร่างกายของเรา) กำจัดเซลล์ที่เสียหายบริเวณเยื่อบุผนังหลอดเลือด  นอกจากนั้นยังช่วยลดระดับ LDL คลอเรสเตอรอล ในหลอดเลือด ช่วยในการขับสารพิษ และสารอนุมูลอิสระ และยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็นเหตุของอาการหัวใจวายและลมชักได้ (สารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันนี้ก็สามารถพบได้ในไวน์แดง ซึ่งมีสาร Resveratrol ที่เป็น Polyphenol ที่ลดอันตรายจากการสูบบุหรี่และรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ชาวฝรั่งเศสจึงไม่ค่อยเป็นโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดกัน) ในการวิจัยเมื่อปี 1997 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัส สรุปว่า EGCG นั้นแรงเท่า ๆ กับ Resveratrol ถึงเกือบ 2 เท่า ! ซึ่งเป็นการอธิบายว่าทำไมชาวญี่ปุ่นจึงมีอัตราการเสี่ยงของโรคหัวใจค่อนข้างต่ำ แม้ว่าชาวญี่ปุ่นกว่า 75% จะสูบบุหรี่ก็ตาม

💥#ช่วยเพิ่มพลังงาน💥

ในชามัทฉะมีรูปแบบของคาเฟอีนที่เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ธีโอฟีลลิน ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สามารถรักษาระดับพลังงานโดยไม่มีผลข้างเคียง ช่วยกระตุ้นสมอง เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย สนับสนุนการทำงานของต่อมหมวกไตและรักษาระดับฮอร์โมนที่เหมาะสม

💥#ดีทอกซ์ร่างกายด้วยผงชาเขียวมัทฉะ💥

คลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ในชามัทฉะ เน้นประสิทธิภาพในกระบวนการทำความสะอาดของร่างกาย คลอโรฟิลล์เป็นสารกำจัดพิษที่ดีเยี่ยม ซึ่งช่วยในการทำความสะอาดเลือด ช่วยในการรักษาความเป็นด่างของเลือดและเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ยังช่วยในการป้องกันความสัมพันธ์ของสารพิษ ที่เป็นอันตรายกับผนังลำไส้ใหญ่ และขับของเสียออกจากร่างกาย

💥#ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย💥

ชามัทฉะมีแอลธีอะนีนที่เป็นกรดอะมิโนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในชาเขียว มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต้านความวิตกกังวล ช่วยในการเพิ่มคลื่นอัลฟาในสมอง คลื่นอัลฟาเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการผ่อนคลาย ช่วยให้เกิดอาการสงบของสมอ

💥#ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ💥

ซึ่งจากรายงานของทีมวิทยาศาสตร์จากศูนย์กลางการวิจัยโรคมะเร็ง ในบริติชโคลัมเบีย พบว่าสารแคเทชินในชา สามารถยับยั้งการสร้างไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ และรายงานการแพทย์ทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1982 และ 1987 ก็พบว่าในแถบจังหวัดมิซูโอกะ ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีการดื่มชาเขียวกันมาก มีอัตราการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยด้วย
นอกจากนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคอร์ทิน ในเมืองเพิร์ธ และโรงพยาบาลโรคมะเร็งเจอเจียง ในเมืองหังโจวของจีน ยังศึกษาพบว่า ผู้ชายที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำทุกวัน จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง 2 ใน 3 และยิ่งดื่มมากและนานเท่าใด ความเสี่ยงก็จะลดลงมากขึ้นเท่านั้น
EGCG เป็นสารต้านพิษ และยังช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วยการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อส่วนดี แต่ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันการทดลองและสรุปผลว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคมะเร็งได้

#ขอบคุณข้อมูลจาก: 🙏🙏🙏
1.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) The Thailand Research Fund (TRF) หัวข้อ: อารมณ์นี้สิ...ชาเขียว
2. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ จาก บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน หัวข้อ: ชาเขียว (Green tea) ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์


Credit ที่มา